วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พฤติกรรมของไส้เดือน อีกหนึ่งพื้นฐานในการเลี้ยงไส้เดือน

พฤติกรรมของไส้เดือน



ระบบนิเวศ การแพร่กระจายพันธุ์ และพฤติกรรมของไส้เดือนดิน

ระบบนิเวศ นั้นมีความสัมพันธ์กับการแพร่กระจายตัวของไส้เดือนดินทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยสภาพอากาศที่แตกต่างกันเช่น พื้นที่ในเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาว ลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่สูง (ภูเขา) พื้นที่ราบ รวมถึงพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมขัง แห้งแล้ง ตลอดจนกำแพงธรรมชาติ อาทิเช่น ทะเล มหาสมุทร ทะเลทรายและแม่น้ำเป็นต้น ซึ่งปัจจัยข้างต้นมีผลอย่างยิ่งต่อการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน โดยเป็นตัวกำหนดและควบคุมชนิดของสายพันธุ์ ปริมาณและการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการแพร่กระจายพันธุ์ของ ไส้เดือนดินในกลุ่มเพอริคริน(Perigrine) นั้นก็คือ มนุษย์ เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การเกษตรกรรม การปรับพื้นที่ รวมถึงการเคลื่อนย้ายดิน การใช้พื้นที่ในการสร้างอาคารบ้านเรือน หรือ ค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการ เคลื่อนย้ายดินและต้นไม้ซึ่งมีตัวไส้เดือนดินติดไปด้วย และการนำเข้าสายพันธุ์ไส้เดือนดินเพื่อใช้ในการวิจัย หรือใช้ทางการค้า ก็เป็นต้นเหตุของการแพร่กระจายตัวของไส้เดือนดินด้วย
สภาพแวดล้อมที่แตก ต่างกันดังกล่าว ส่งผลให้ไส้เดือนดินที่แพร่กระจายพันธุ์อยู่บริเวณนั้นมีลักษณะพฤติกรรมที่ แตกต่างกันออกไป โดยพฤติกรรมหลายๆ อย่างของไส้เดือนดินพบว่า มีผลมาจากปัจจัยแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นเช่น สภาพพื้นที่ ฤดูกาล และสภาพของแหล่งที่อยู่ โดยพฤติกรรมต่างๆ เหล่านั้นมักเกิดขึ้นเพื่อการดำรงชีวิตให้รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งสิ้น ในการสำรวจการแพร่กระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน ที่ให้ทราบถึงชนิดของสายพันธุ์ ปริมาณ ตลอดจนการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดินแต่ละชนิด สามารถทำการตรวจวัดโดยวิธีการประเมินประชากรไส้เดือนดิน ด้วยวิธีต่างๆ ทั้งทางวิธีกล ทางเคมี และทางกายภาพ เช่น การนับด้วยมือ การใช้สารเคมี การใช้ความร้อน และการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น