วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์





ถึงแม้จะมีสองเพศในตัวเดียวกัน (hermaphroditic)แต่ไส้เดือนจะไม่ผสมตัวเอง การผสมพันธุ์เกิดขึ้นโดยการสัมผัสกับตัวอื่นและแลกเปลี่ยนน้ำเชื้อตัวผู้ไข่ ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 3 อาทิตย ไข่อยู่ในถุง ประกอบด้วยตัวอ่อน 2-20 ตัว หรือเฉลี่ย 4 ตัว คัดตัวเต็มวัยอายุ 2-3 เดือน ปล่อยในบ่อขยายพันธุ์ ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไส้เดือนวางไข่ทุก 7-10 วัน การฟักไข่ใช้เวลา 21 วัน ปริมาณไส้เดือนจะเพิ่มขึ้น เป็นสองเท่าในเวลา 60-90 วัน การให้อาหารจะวางเป็นแถวตามแนวขวาง เพื่อให้ไส้เดือนสัมผัสกัน และการเลี้ยงไส้เดือนของไท่านมีประสิทธิ์ภาพมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การทำปุ๋ยหมักไส้เดือน


การทำปุ๋ยหมักไส้เดือน
Worm Composting



“สิ่งที่ไส้เดือนกินเป็นอาหารก็คือดินเศษซากอินทรียวัตถุต่างๆสิ่งมีชีวิต
เล็ก ๆ ในดินหรือแม้แต่เศษก้อนหิน เมื่อสิ่งเหล่านี้ถูกไส้เดือนกินเข้าไป
แล้วถูกย่อยและถูกขับถ่ายออกมากลายเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพเยี่ยม
การทำปุ๋ยหมักไส้เดือน
ไส้เดือน เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน ช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้กับดิน จะสังเกตได้หากดินของใครมีไส้เดือนอยู่มาก ดินก็จะมีความสมบูรณ์ ต้นไม้จะงาม เพราะมีความสมบูรณ์กว่าดินทั่วไป 5-10 เท่า
ความสมบูรณ์ของดินไส้เดือนสร้างได้โดยการที่ไส้เดือนกินอาหาร แล้วขับถ่ายออกมาซึ่ง สิ่งที่ไส้เดือนกินเป็นอาหารก็คือ ดิน เศษซากอินทรียวัตถุต่าง ๆ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในดินหรือแม้แต่เศษก้อนหิน เมื่อสิ่งเหล่านี้ถูกไส้เดือนกินเข้าไปแล้วถูกย่อยและถูกขับถ่ายออกมากลาย เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพเยี่ยม
นอกจากนี้ไส้เดือนยังกินเศษพืชผัก ผลไม้จากบ้านเรือนและสวน เราจึงมาทำปุ๋ยหมักโดย การเลี้ยงไส้เดือนด้วยเศษผัก และผลไม้ในบ้าน เพื่อให้ไส้เดือนขับถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยแล้วนำไปใส่ในแปลงพืชผัก และสามารถช่วยกำจัดขยะในบ้านอีกด้วย
ชนิดไส้เดือน
ชนิดตัวใหญ่ สีแดงอมเทา จะอยู่ในดินค่อนข้างลึก กินอาหารไม่เก่ง
2. ชนิดตัวเล็ก สีแดง กินอาหารได้เก่ง ค่อนข้างรวดเร็ว ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนได้มาใน
เวลาอันสั้น
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ไส้เดือนชอบดินชื้น มีใบไม้และเศษซากพืช ซากสัตว์
1. อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 12-25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้ไส้เดือนอาจยังมีชีวิตอยู่ แต่จะไม่สืบพันธุ์และไม่ขยายจำนวน ถ้าต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ไส้เดือนจะตาย ถ้าสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ไส้เดือนจะตายเช่นเดียวกัน
2. ภาชนะที่ใช้เลี้ยงไส้เดือน ควรวางไว้ในที่ ๆ อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงมาก ไม่ควรโดนแสงแดงโดยตรง ให้วางไว้ใต้ร่มไม้ หรือใต้ชายคา
3. ระบายอากาศได้ดี
4. มีอาหาร เศษซากพืช ซากสัตว์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์
5. ความเป็นกรด – ด่าง อยู่ระหว่าง 5-8 แต่ความเหมาะสมอยู่ที่ 7
ภาชนะที่ใช้เลี้ยง
ไส้เดือน จะเลื้อยมากินอาหารบนผิวดิน ภาชนะที่ใช้เลี้ยงจึงควรมีพื้นผิวกว้าง มีก้นปิด สามารถเคลื่อนย้ายได้ วัสดุมีความชุ่มชื้น ไม่แห้ง ระบายน้ำได้ดี ไม่เปียกแฉะ ไม่ม่น้ำขัง เช่น
ถังพลาสติก
กระบะไม้
กระบะพลาสติก
บ่อซีเมนต์
ขนาดของภาชนะกับปริมาณไส้เดือน
จำนวนคนในบ้าน ปริมาณไส้เดือน(น้ำหนัก) ขนาดของภาชนะ
1-2 คน 500 ก. 60x60x30 ซม.
2-3 คน 1 ก.ก. 75x60x30 ซม.
4-6 คน 1.5 ก.ก. 90x60x30 ซม.
การหมักปุ๋ยด้วยไส้เดือนในถังพลาสติก
แบ่งถังออก 3 ส่วน
ส่วนล่างสุดจะรองรับน้ำ
ส่วนที่ 2 ที่อยู่อาศัย
ส่วนที่ 3 เป็นอาหาร
ส่วนล่างสุด ใส่ก้อนหินบริเวณก้นถัง เฉลี่ยสูง 15 ซม. ตัดแผ่นไม้เป็นวงกลม เจาะรู วางทับบนก้อนหิน
ส่วน ที่สอง ที่อยู่อาศัย วางไส้เดือนลงบนแผ่นไม้ ประมาณ 50-10 ตัว ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ หนา 15-30 ซม. โรยปิดทับด้วย ดินแห้ง หนาประมาณ 1 นิ้ว
ส่วน ที่สาม ใส่เศษพืชผัก ใบไม้ เศษฟาง หรือแม้แต่เศษวัชพืช ควรสูงประมาณ 3 นิ้ว ใช้ฝาปิด หากไม่มีฝา ใช้ฟางข้าว หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ปิด
การให้อาหารไส้เดือน
ควรให้ที่ละน้อย แต่ให้บ่อย ๆ ครั้ง เพราะให้มากไส้เดือนจะกินไม่ทัน อาหารจะเน่ากลิ่นเหม็น นอกจากนี้จะทำให้เกิดความร้อนสูงจากการหมัก ทำให้ไส้เดือนตายได้ โดยปกติถ้ามีปริมาณไส้เดือนมากพอ จะกินอาหารหมดภายใน 2-3 วัน และเศษอาหารควรสับเป็นชิ้นเล็กๆ จะถูกย่อยเร็วขึ้น
อาหารเลี้ยงไส้เดือนได้ เลี้ยงไม่ได้
เปลือกผัก เปลือกส้ม
เศษผัก ผลิตภัณฑ์จากนม
เปลือกไข่ เนื้อ / ปลา
เปลือกผลไม้ ขี้หมา / ขี้แมว
เศษอาหารที่ปรุงแล้ว ดอกไม้จากตลาด (ปนเปื้อนสารเคมี)
เศษหนังสือพิมพ์ พลาสติก แก้ว กระป๋อง
กากกาแฟ ใบชา
เปลือกหอม
ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำไส้เดือน
หลัง ให้อาหาร 2-3 เดือน ไส้เดือนจะเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และพวกอาหารก็จะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมัก สีดำ มีฮิวมัสมากมีคุณค่าทางอาหารสูงและหากปริมาณมากพอโกยเอาเศษอาหารด้านบนที่ ยังไม่ได้กินหรือกินไม่หมดออก แล้วตักเอาปุ๋ยหมักไส้เดือนออกจากถัง แล้วเทลงบนพื้นปลูกเพื่อแยกไส้เดือน
วิธีแยก 1. วิธีเขี่ยแยกปุ๋ยกับไส้เดือน โดยแยกไปเรื่อย ๆ เริ่มจากด้านนอกก่อน
ไส้เดือนจะหนีเข้าข้างในกองปุ๋ย
2. เทปุ๋ยบนพื้นที่มีแสงแดด หนาประมาณ 5 ซม. แล้วเอาหนังสือพรมน้ำ
ปิดบังแสงไว้ครึ่งหนึ่ง ไส้เดือนจะหนีแสงมาอยู่ด้านไม่มีแสง ทำไปเรื่อย ๆ
จนหมด เหลือเฉพาะไส้เดือน
ปุ๋ย น้ำ ที่ได้จะอยู่ด้านล่างของถัง จะเป็นปุ๋ยอย่างดี ผสมน้ำ 1 : 10 ใช้รดพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ ควรจะมีก๊อกน้ำก้นถัง เพื่อเอาปุ๋ยน้ำ
การหมักปุ๋ยหมักด้วยไส้เดือนในแปลงดิน
พิจารณาแปลงดินที่มีไส้เดือน แต่หากมีน้อยก็ควรเติมไส้เดือน
โรยเศษผักสด เศษหญ้า เศษใบไม้ เศษฟาง ด้านบนแปลง
โรยทับด้วยดินร่วน
ปิดทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ให้ทั่วแปลง (ช่วยเก็บความชื้นและป้องกันวัชพืช)
ไส้เดือนจะเลื้อยกินอาหาร 2-3 สัปดาห์ ก็จะกลายเป็นปุ๋ยและสามารถนำกล้าไม้มาปลูกในแปลงได้เลย

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พฤติกรรมของไส้เดือน อีกหนึ่งพื้นฐานในการเลี้ยงไส้เดือน

พฤติกรรมของไส้เดือน



ระบบนิเวศ การแพร่กระจายพันธุ์ และพฤติกรรมของไส้เดือนดิน

ระบบนิเวศ นั้นมีความสัมพันธ์กับการแพร่กระจายตัวของไส้เดือนดินทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยสภาพอากาศที่แตกต่างกันเช่น พื้นที่ในเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาว ลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่สูง (ภูเขา) พื้นที่ราบ รวมถึงพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมขัง แห้งแล้ง ตลอดจนกำแพงธรรมชาติ อาทิเช่น ทะเล มหาสมุทร ทะเลทรายและแม่น้ำเป็นต้น ซึ่งปัจจัยข้างต้นมีผลอย่างยิ่งต่อการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน โดยเป็นตัวกำหนดและควบคุมชนิดของสายพันธุ์ ปริมาณและการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการแพร่กระจายพันธุ์ของ ไส้เดือนดินในกลุ่มเพอริคริน(Perigrine) นั้นก็คือ มนุษย์ เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การเกษตรกรรม การปรับพื้นที่ รวมถึงการเคลื่อนย้ายดิน การใช้พื้นที่ในการสร้างอาคารบ้านเรือน หรือ ค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการ เคลื่อนย้ายดินและต้นไม้ซึ่งมีตัวไส้เดือนดินติดไปด้วย และการนำเข้าสายพันธุ์ไส้เดือนดินเพื่อใช้ในการวิจัย หรือใช้ทางการค้า ก็เป็นต้นเหตุของการแพร่กระจายตัวของไส้เดือนดินด้วย
สภาพแวดล้อมที่แตก ต่างกันดังกล่าว ส่งผลให้ไส้เดือนดินที่แพร่กระจายพันธุ์อยู่บริเวณนั้นมีลักษณะพฤติกรรมที่ แตกต่างกันออกไป โดยพฤติกรรมหลายๆ อย่างของไส้เดือนดินพบว่า มีผลมาจากปัจจัยแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นเช่น สภาพพื้นที่ ฤดูกาล และสภาพของแหล่งที่อยู่ โดยพฤติกรรมต่างๆ เหล่านั้นมักเกิดขึ้นเพื่อการดำรงชีวิตให้รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งสิ้น ในการสำรวจการแพร่กระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน ที่ให้ทราบถึงชนิดของสายพันธุ์ ปริมาณ ตลอดจนการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดินแต่ละชนิด สามารถทำการตรวจวัดโดยวิธีการประเมินประชากรไส้เดือนดิน ด้วยวิธีต่างๆ ทั้งทางวิธีกล ทางเคมี และทางกายภาพ เช่น การนับด้วยมือ การใช้สารเคมี การใช้ความร้อน และการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น เป็นต้น

วงจรชีวิตของไส้เดือน (พื้นฐานการเลี้ยงไส้เดือน)



วงจรชีวิตของไส้เดือนดินจะประกอบด้วย ระยะถุงไข่(Cocoon) ระยะตัวอ่อน ระยะก่อนเต็มวัย และระยะตัวเต็มวัย(ไคเทลลัมเจริญเต็มที่) โดยทั่วไปไส้เดือนดินจะจับคู่ผสมพันธุ์กันในบริเวณใต้ดิน แต่บางสายพันธุ์ก็จับคู่ผสมพันธุ์กันบริเวณผิวดินด้วย ลักษณะการผสมพันธุ์ของไส้เดือนดินจะมีลักษณะนำส่วนท้องที่เป็นส่วนของไคลเท ลลัมมาแนบติดกันและสลับหัวสลับหางกัน ซึ่งจะพบไส้เดือนดินจับคู่ผสมพันธุ์กันมากในช่วงที่เห็นไคลเทลลัมชัดเจน ซึ่งเมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้วไส้เดือนดินแต่ละตัวก็จะสร้างถุงหุ้มไข่ที่ เรียกว่าโคคูน เคลื่อนผ่านไปบริเวณส่วนหัวรับไข่และสเปิร์มเข้าไปภาย ในและเคลื่อนออกมานอกลำตัวในบริเวณช่องสืบพันธุ์เพศเมีย ตัวอ่อนพัฒนาอยู่ภายในถุงและฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา
ถุงไข่ของไส้เดือนดิน นั้นมีหลายขนาดและมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปคือ แบบหัวแหลมท้ายแหลม แบบรูปทรงกลม และรูปทรงรี ถุงไส้เดือนมีขนาดใหญ่สุดคือ มากกว่า 75-20 มิลลิเมตร และเล็กสุดมีขนาดน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร
อิทธิพลของสภาพแวดล้อม ที่มีต่อการสร้างถุงไข่ คือ อุณหภูมิ และความชื้น โดยในประเทศไทยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงไส้เดือนสานพันธุ์ไทยคือ ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส ในฤดูฝนที่มีความชื้นสูงไส้เดือนจะสร้างถุงไข่ได้มากกว่าในช่วงฤดูร้อนหรือ ฤดูหนาว ในบริเวณที่มีความชื้นมากไส้เดือนดินจะสร้างถุงไข่และวางถุงไข่ไว้บริเวณ ใกล้กับผิวดินและในบริเวณ ที่แห้งแล้งไส้เดือนดินจะวางถุงไข่ในชั้นดินที่ลึกกว่า ไส้เดือนดินที่ฟักออกจากถุงไข่ใหม่ๆ จะมีลำตัวใสและเห็นเส้นเลือดในลำตัวชัดเจน แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นลำตัวจะเริ่มเปลี่ยนสี ซึ่งในการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน จะไม่มีการเพิ่มจำนวนปล้องแต่จะขยายขนาดของปล้องให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จนกระทั่งโตเต็มวัยอวัยวะสืบพันธุ์ต่างๆ จะพัฒนาขึ้นจนเห็นเด่นชัด โดยเฉพาะไคลเทลลัม จะสามารถเห็นได้ชัดเจนขึ้นที่บริเวณส่วนหัว ระยะนี้ไส้เดือนดินก็จะมีการจับคู่ผสมพันธุ์และสร้างถุงไข่ได้ ภายหลังจากไส้เดือนดินเจริญเติบโตเต็มวัยแล้วจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ยาว นานหลายปีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

การเลี้ยงไส้เดือนจำเป็นที่ต้องมีทั้งวามอดทนและการเอาใจใส่นะครับ ขอให้ทุกท่านจงโชคดีกับการเลี้ยงไส้เดือนครับ

การจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดิน พื้นฐานของการเลี้ยงไส้เดือน

การจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดิน พื้นฐานของการเลี้ยงไส้เดือน



การเลี้ยงไส้เดือนอันดับแรกเราต้องสามารถจำแนกสายพันธุ์ได้ก่อนนะครับ ไปดูกันเลย
ไส้เดือน ดินจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์(Animalia) ศักดิ์แอนนิลิดา (Phylum: Annelida) ชั้น โอลิโกซีตา (Class: Oligochaeta) ตระกูลโอพิสโธโพรา (Order: Opisthopora) สำหรับ วงศ์ (Family) ของไส้เดือนดินนั้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จัดจำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ที่แตกต่างกันออกไป และจากการจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดินล่าสุด โดย Renolds and Cook (1993) ได้จัดจำแนกไส้เดือนดินที่อยู่ในตระกูลโอพิสโธโพราทั้งหมดออกเป็น 21 วงศ์
ใน การจัดแบ่งกลุ่มของไส้เดือนดินโดยอาศัยพื้นฐานด้านความแตกต่างของที่อยู่ อาศัย นิสัยการกินอาหาร และระดับความลึกของชั้นดินในแนวดิ่งที่ไส้เดือนดินเหล่านั้นอาศัยอยู่ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่ไม่มีการขุดรู กับไส้เดือนที่อาศัยอยู่ในดินและอาศัยอยู่ภายในรู ซึ่ง ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ในบริเวณผิวดินมักจะมีสีของลำตัวค่อนข้างเข้ม สามารถสร้างโคคูน ได้มากและเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้เร็ว สำหรับไส้เดือนดินอีกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดินที่ลึกกว่าจะมีลำตัวสี ซีดกว่า ผลิตโคคูนได้น้อย และโตเต็มวัยได้ค่อนข้างช้า โดยทั่วไปไส้เดือนดินในกลุ่มนี้จะมีลำตัว ขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่ได้จัดจำแนกไส้เดือนดินแป็นกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวประกอบด้วย Piearce (1972), Bouche (1971, 1977) , Lavelle (1979)
ซึ่ง นอกจากกลุ่มของไส้เดือนดินที่ได้จัดจำแนกดังกล่าว ยังมีไส้เดือนดินบางชนิดที่อาศัยอยู่ในที่พิเศษอื่นๆ ซึ่งพบได้น้อยในดินหรือในขยะหรือในสภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ไส้เดือนดิน พวกที่อาศัยอยู่ใต้เปลือกไม้ ท่อนซุงที่เน่าเปื่อย ในรากพืช หรือใต้พืชจำพวกมอส และซอกใบไม้ของต้นไม้ในป่าเขตร้อนที่ยังไม่ได้จำแนกอีกด้วย
วิธีการจัด จำแนกไส้เดือนดินอย่างง่ายสามารถสังเกตได้จาก 1) ขนาดและความยาวของลำตัว 2) สีหรือแถบสีของลำตัว และ 3) แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหาร ในลำดับแรกจะแบ่งกลุ่มไส้เดือนเป็น 2 กลุ่มใหญ่ก่อน เป็น ไส้เดือนดินสีแดง และ ไส้เดือนดินสีเทา แล้วจึงพิจารณาถึงขนาดความยาวของลำตัว ถิ่นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของมันในลำดับถัดไป
ตัวอย่างสายพันธุ์ ไส้เดือนดินสีเทา เช่น พันธุ์ Pheretima posthuma ซึ่งเป็นไส้เดือนดินพันธุ์ที่มีลำตัวสีเทา ขนาดใหญ่ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว อาศัยอยู่ในดินในสวนผลไม้ หรือในสนามหญ้า ในชั้นดินที่ค่อนข้างลึก กินเศษใบไม้ที่เน่าเปื่อย และดินบางส่วนเป็นอาหาร และไส้เดือนดินพันธุ์สีแดง เช่น พันธุ์ Pheretima peguana เป็นไส้เดือนดินที่มีลำตัวเป็นสีแดงออกม่วง ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ หรือ กองเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ที่มีความชื้นสูง กินมูลสัตว์ และเศษซากพืชที่เน่าเป็นอาหาร
ในปัจจุบันมีการจำแนกไส้เดือน ดินทั่วโลกได้ 4,000 กว่าชนิด สายพันธุ์ที่นำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์ทางการค้ามีประมาณ 15 ชนิด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของ Megadrili ในวงค์ Lumbricidae ซึ่งอาศัยอยู่ในขยะอินทรีย์และมูลสัตว์ เช่น สายพันธุ์ Lumbricus rubellus, Eisenia foetida, Eudrilus eugeniae, Pheretima peguana, Perionyx excavatus เป็นต้น

รวมตลาดซื้อขาย ไส้เดือน

การเลี้ยงไส้เดือนเป็นธุรกิจใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาในปัจจุบันเพราะการเลี้ยงไส้เดือนในปัจจุบันสามารถสามารถสร้างรายได้อย่างงามให้แก่ผู้เลี้ยง สำหรับท่านใดต้องการซื้อหรือขายไส้เดือนก็สามารถให้เราเป็นสื่อกลางให้ได้ หรือติดปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือนก็สามารถเมลล์เข้ามาสอบถามเราได้นะครับ หรือท่านใดต้องการซื้อไส้เดือนก็สามารถติดต่อเข้าไปได้ที่ รายชื่อต่างตามด้านล่างนี้นะครับ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด จังหวัดชุมพรจำหน่ายราคากิโลกรัมละ 500 บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 087-7599929 , 085-7062484(ต้องการขายไส้เดือน)

ศูนย์ จำหน่ายไส้เดือนดินสำหรับผู้ที่สนใจทดลองเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน (ภาคตะวันออก) จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 400 บาท สนใจติดต่อได้ที่ :คุณวินิจ 089-3937830(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณชูศักดิ์ สุวรรณประเสริฐ ฟาร์ม 95 160/207 ท่ารถ บขส. อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 081-0055135(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณเทวา (เต้) 5 หมู่8 บ้านเหล่าใหญ่ ตำบลหันนางรม อำเภอศรีบุญเรื่อง จังหวัดหนองบัวลำภูจำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 081-6319628
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณอรรษดิษฐ์ ทองสุวรรณ 94 หมู่10 ตำบลท่าจำปี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 085-7130144
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณประพาฬศิลป์ มินประพาฬ 29/10 หมู่บ้านรัตนมาลา ตำบลน้ำริม อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 086-6709631
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณสุเทพ วิริยา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 089-8536399
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณ สมพิศ ศรีบัวทอง 141 บ้านห้วยยา ตำบลตาดตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 50190จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 089-2623669
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณ นิวัฒน์ อ่างเกียรติกูล (เอก) 35 หมู่ 8 ตำบลแซ่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 085-5208239
(ต้องการขายไส้เดือน)

บ้านสวนไส้เดือน ณิชาฟาร์ม (ปุ๊) คุณประเสริฐ อารหามวงษ์ 49 หมู่ 2 บ้านร้องเมิง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ จำหน่าย แปรรูป สนใจติดต่อได้ที่ : 084-4880798 Email: e20gs[at]hotmail.com
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณ เสน่ห์ ทองสว่าง เลขที่ 97/1 หมู่ 3 ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 080-1307780 , 053-553076
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณพนม นากรณ์ เลขที่ 87/1 หมู่ 5 ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 086-1823756
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณอนันต์ชัย เนตรธิยา หมู่บ้านจรรยาวัลย์ หมู่ 5 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 084-0426584
(ต้องการขายไส้เดือน)

คุณธนินทร์ เฉลิมวัฒนาจำหน่ายราคากิโลกรัมละ ... บาท สนใจติดต่อได้ที่ : 081-5313844
E-mail: cdnanit[at]hotmail.com
(ต้องการขายไส้เดือน)
สำหรับผู้ที่ต้องการประกาศขายไส้เดือน หรือ ซื้อไส้เดือน สามารถแจ้งเข้ามาได้ที่ E-mail:gootum7[at]gmail.com ทางทีมงานจะทำการ เพิ่มรายชื่อ ผู้ประกาศขายไส้เดือน หรือ ผู้ประกาศซื้อไสเดือนให้ครับ